ฟ้องหย่า ดำเนินคดีหย่า ถูกฟ้องหย่า คดีครอบครัว ปรึกษาทนายความ

การหย่าและเหตุแห่งการฟ้องหย่า

การหย่านั้นสามารถทำได้สองวิธีคือ การหย่าโดยความยินยอม และการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยแต่ละวิธีจะมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

บทความนี้เราจะพูดถึง การฟ้องหย่า ว่ามีเหตุแห่งการฟ้องหย่านั้นมีอะไรบ้าง

การหย่านั้นสามารถทำได้สองวิธีคือ การหย่าโดยความยินยอม และการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยแต่ละวิธีจะมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

การหย่าโดยความยินยอม

เป็นการที่คู่สมรสยุติความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยการตกลง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแยกทางกัน กฎหมายไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการหย่าโดยวิธีนี้ไว้ซับซ้อนนัก เพียงแค่ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน หลังจากนั้นก็นำหนังสือการตกลงนี้ไปจดทะเบียนก็จะเป็นการหย่าขาดจากกันสมบูรณ์ตามกฎหมาย การทำหนังสือนี้จะทำที่ใหนก็ได้ โดยที่เมื่อทำหนังสือตกลงการหย่าแล้วถ้าฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อบังคับตากหนังสือตกลงการหย่าได้ อายุความในการฟ้องร้องตามหนังสือตกลงการหย่ามีอายุความ 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำบันทึกตกลงการหย่า

การหย่าโดยผลของกฎหมาย

เป็นการหย่าโดยอาศัยเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้มาฟ้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน โดยสามารถแบ่งเหตุที่นำมาฟ้องเพื่อหย่าขาดออกจากกันได้เป็น

เหตุหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สมรส แบ่งเป็น

1 สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

การอุปการะเลี้ยงดูเช่นการที่คู่สมรสไปรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายสำหรับการดำรงชีพของผู้อื่น ซื้อบ้านให้อยู่อาศัยให้เงินไว้ใช้จ่ายเป็นรายเดือนโดยจะต้องมีลักษณะเป็นการต่อเนื่องอย่างถาวรในลักษณะที่เหมือนเป็นคู่สมรสของตนด้วย หากเป็นการอุปการะเลี้ยงดูในฐานะอื่นจะอ้างมูลเหตุนี้ในการฟ้องหย่าไม่ได้ และเมื่อศาลได้พิพากษาให้หย่าขาดจากกันแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกค่าอุปการะจากอีกฝ่ายหนึ่ง รวมถึงผู้ที่ได้รับการอุปการะหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นด้วย

ภริยาหรือสามีเป็นชู้หรือมีชู้ คือผู้ที่มาร่วมประเวณีกับสามีหรือภริยานั้นนั้นมีสามีหรือภริยาแล้ว การเป็นชู้หรือมีชู้นี้ต้องพิจารณาประกอบด้วยว่าคู่สมรสอีกฝ่ายยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่ หากคู่สมรสอีกฝ่ายยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจด้วยก็จะฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุนี้ไมไ่ด้

คู่สมรสร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณต่างจากการมีชู้ตรงที่ผู้อื่นนั้นยังโสด

2 สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือหากยังเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอีกต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับการดูถูกเกลียดชัง หรือ เมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบแล้วถ้ายังคงเป็นภริยาหรือสามีต่อไปจะทำให้ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควร เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้ประพฤติชั่วฟ้องหย่าได้แต่ตนต้องไม่ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการประพฤติชั่วนั้นด้วย

3 สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการร้ายแรง หากการกระทำดังกล่าวไม่ร้ายแรงจะไม่สามารถใช้เป็นเหตุหย่าได้ เพราะจะเป็นการธรรมดาที่คู่สมรสจะทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง เหตุหย่าตามข้อนี้นั้นรวมถึงการการทำต่อบุพการีของคู่สมรสอีกฝ่ายด้วย และการทรมานรวมถึงการทรมานจิตใจอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

4 สามีหรือภริยาจงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี ซึ่งการทิ้งร้างนี้ต้องเป็นการทำไปโดยจงใจละทิ้งร้าง เช่นแยกตัวไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีความประสงค์ที่จะกลับมาอยู่กินร่วมกันอีกเป็นข้อสำคัญ ซึ่งถ้าเป็นการทิ้งร้างแล้ว แม้ว่าจะยังคงช่วยอุปการะเช่น จ่ายค่า น้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ให้เสมอ ก็ยังสามารถใช้เหตุนี้ในการฟ้องหย่าได้

5 สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควร ถ้าไม่ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควรเช่น พ้นโทษออกมาและอยู่กินกันเรื่อยมาถึง 5 ปีก็จะกลับไปอาศัยเหตุนี้มาฟ้องหย่าไม่ได้อีก

6 สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง โดยการกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินสมควรหากเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ กฎหมายให้เป็นเหตุหย่าเนื่องจากกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้สามีภริยาต้องเลี้ยงดูกันตามอรรถภาพ ถ้าฝ่ายใดเลี้ยงดูได้แต่ไม่ทำแล้วทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อน ฝ่ายที่เดือดร้อนก็สามารถใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ หากไม่เป็นผลจึงสามารถนำมาเป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้

การเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง หมายถึงการกระทำในลักษณะที่ปกติสามีภรรยาจะไม่ประพฤติปฏิบัติต่อกัน และเป็นผลให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือร้อนเกินสมควรด้วย เช่น สามีนำปืนมายิงใส่ภรรยา แม้จะไม่โดนก็เป็นเหตุในการหย่าตามข้อนี้แล้ว

7 สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ จะเห็นได้ว่าเหตุนี้ทัณฑ์บนนั้นต้องเป็นในเรื่องความประพฤติเท่านั้น จะนำทัณฑ์บนในเรื่องทรัพย์สินมาเป็นเหตุในการฟ้องหย่าไม่ได้ และทัณฑ์บนนี้ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สำคัญ หรือมีผลต่อการอยู่ร่วมกันมาทำทัณฑ์บนด้วย หากไม่มีผลกระทบเช่น ฝ่าฝืนข้อตกลงที่ให้เอามือปิดปากเวลาจาม มาเป็นเหตุในการฟ้องหย่าไม่ได้ แต่หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นพฤติกรรมสำคัญและมีผลกระทบต่อการมีชีวิตคู่อย่างร้ายแรงได้ ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง

เหตุหย่าที่เพิ่มมาในประมวลกฎหมายอาญา

จริงอยู่การหย่านั้นเป็นเรื่องในทางแพ่ง แต่ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 27 พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 วรรคสี่กำหนดว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง(ข่มขืนกระทำชำเรา) เป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบและให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้” ซึ่งทำให้เป็นเหตุแห่งการหย่าเหตุหนึ่งนอกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งขั้นตอนการฟ้องจะแตกต่างจากกรณีปกติ โดยกฎหมายให้คู่สมรสฝ่ายที่ต้องการจะหย่าขาดจากกันให้แจ้งให้ศาลทราบ จากนั้นศาลท่านก็จะแจ้งให้เจ้าพนักงานอัยการฟ้องหย่าให้

เหตุหย่าที่มีสาเหตุมาจากเป็นการทำให้ชีวิตสมรสสิ้นสุดลงหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปโดยปกติสุข

เป็นเหตุหย่าที่เกิดขึ้นโดยปัจจัยภายนอก ซึ่งกฎหมายเห็นว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่คู่สมรสอีกฝ่ายต้องทนรับสภาพของอีกฝ่ายอีกต่อไป จึงให้โอกาสคู่สมรสอีกฝ่ายฟ้องหย่าเพื่อไปเริ่มต้นชีวิตคู่ใหม่ เหตุดังกล่าวนี้ได้แก่

1 สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี การแยกกันอยู่ตามเหตุการสมัครใจนั้นนั้นไม่สนใจว่าจะมาจากเหตุร้ายแรงทำให้ต้องแยกกันอยู่หรือไม่ แต่การแยกกันอยู่นั้นต้องเกิดจากการสมัครใจแยกกันอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ถึงจะอาศัยเหตุนี้ในการฟ้องหย่าได้ ถ้าเป็นการสมัครใจฝ่ายเดียวจะไม่สามารถใช้เหตุนี้ในการฟ้องหย่าได้ แต่ถ้าอาศัยเหตุการแยกกันอยู่เพราะคำสั่งศาลนั้นต้องมีเหตุที่ว่าถ้าอยู่ร่วมกันแล้วจะเป็นอันตรายแก่หรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมากด้วย

2 สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร การสาบสูญนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ แต่แม้ว่าศาลจะให้เป็นคนสาบสูญก็ไม่ได้ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงไปในทันที เพราะไม่ใช่ความตายตามธรรมชาติอันจะทำให้การสมรสสิ้นสุดลง จึงต้องนำเหตุสาบสูญนั้นมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกันอีกที

ดังนั้นแม้มีการสาบสูญจริงแต่ตราบใดที่ไม่มีการฟ้องหย่าชายหรือหญิงคู่นั้นก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ต่อไป กลับกันถ้าศาลได้มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันเพราะเหตุสาบสูญแล้ว แม้ต่อมาศาลท่านจะเพิกถอนคำสั่งแสดงความสาบสูญแล้วก็ตามก็ไม่มีผลให้ชายหรือหญิงกลับมามีสถานะเป็นสามีภริยากันใหม่แต่อย่างใด

กรณีการไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เกิน 3 ปีและไม่มีใครทราบข่าวเลยนั้น สามารถนำมาฟ้องหย่าได้โดยไม่ต้องร้องขอศาลสั่งให้คู่สมรสที่หายไปนั้นเป็นคนสาบสูญก่อนแต่อย่างใด เพราะการจะขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้นั้นการหายไปมีกำหนดเวลา 5 ปี

3 สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตต้องถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปอีกไม่ได้แล้วด้วย

4 สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ ซึ่งในปัจจุบันน่าจะเหลือเพียงโรคเอดส์โรคเดียวที่จะสามารถใช้เหตุนี้ในการหย่าได้

5 สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล ถ้าหากเป็นการชั่วคราวจะไม่เป็นสาเหตุหย่า และการที่ทำให้มีสภาพกายที่ไม่สามารถร่วมประเวณีได้นั้นไม่ได้เกิดเพราะการกระทำของฝ่ายที่จะฟ้องหย่าด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้สามารถหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้ และถ้าการหย่าแล้วทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง คู่สมรสที่เป็นฝ่ายผิดต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย แต่ถ้าฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการให้อภัยแล้ว สิทธิฟ้องหย่านั้นย่อมหมดไป

ผลการการหย่า

2 comments on “การหย่าและเหตุแห่งการฟ้องหย่าAdd yours →

Comments are closed. You can not add new comments.