ฟ้องร้องต่อสู้คดี ประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอย่างไร?

บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่เราจะประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอย่างไรในการฟ้องร้องต่อสู้คดีคดี 1 เรื่อง เพื่อประเมินความพร้อมเบื้องต้นในการเรียกร้องความยุติธรรมครับ

บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่เราจะประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอย่างไรในการฟ้องร้องต่อสู้คดีคดี 1 เรื่อง เพื่อประเมินความพร้อมเบื้องต้นในการเรียกร้องความยุติธรรมครับ

ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องต่อสู้คดี ในคดีแพ่ง

การฟ้องคดี (ฝั่งโจทก์)

1 ค่าทนายความ ซึ่งตรงนี้จะแล้วแต่วิธีการคิดเงินของทนายแต่ละท่านนะครับ หาให้ประเมินเบื้องต้นให้ประมาณดังนี้ครับ

1.1 การเขียนคำฟ้องคำให้การปกติจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 5 วันทำการขึ้นไปครับแล้วแต่ความยากง่ายของคดีครับ เนื่องมาจากว่าการเขียนคำฟ้องหรือคำให้การ หรือแม้แต่คำร้องต่างๆ (ขอเรียกรวมๆว่าคำคู่ความนะครับ) ที่ใช้ในการต่อสู้คดีนั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะต้องบรรยายถึงองค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงข้อเท็จจริง ที่ใช้ในการต่อสู้คดีครับ ดังนั้นโดยทั่วไปในการเขียนคำคู่ความนั้นอย่างแรกที่ทนายจะต้องทำหลังจากที่ได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากลูกความจนครบสมบูรณ์แล้ว หากเป็นคำฟ้องทนายก็จะนำมาหาข้อต่อสู้และประเด็นข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี แต่ถ้าเป็นคำให้การจำเป็นที่จะต้องอ่านคำฟ้องของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียดซึ่งบางครั้งคำฟ้องและเอกสารแนบมีเป็นร้อย ๆ ฉบับก็มีครับ ตรงนี้จะใช้เวลาหนึ่งถึงสองวันเป็นอย่างน้อยครับ หากเป็นคดีที่มีความซับซ้อนมากก็จำเป็นที่จะต้องประชุมทีมทนายซึ่งก็จะใช้เวลานานขึ้นอีกเป็นเท่าตัวครับ

เมื่อสรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ทนายจึงจะเริ่มตรวจสอบเช็คข้อกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งระยะเวลาตรงนี้ขึ้นกับความซับซ้อนของเคสครับ ปกติจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 วันทำการขึ้นไปครับ หลังจากนั้นทนายก็จะเริ่มร่างคำคู่ความจะใช้เวลาอีกประมาณสองถึงสามวันครับเพราะเนื่องจากว่าต้องตรวจสอบการบรรยายต่าง ๆ ว่าขาดตกบกพร่องตรงไหนหรือเปล่าหรือมีจุดอ่อนจุดแข็งในคำคู่ความอย่างไร ซึ่งตรงนี้จะรวมถึงการประเมินด้วยว่าหากเราเขียนคำฟ้องหรือคำให้การนี้แล้วฝ่ายตรงข้ามจะต่อสู้อย่างไรด้วยครับเรียกได้ว่าเป็นการประเมินทั้งคดีตั้งแต่เริ่มต้นครับเพราะหลังจากนี้แล้วการต่อสู้คดีจะปรับปรุงตามแผนที่เราได้วางไว้ตั้งแต่ครั้งแรกนี้ครับถึงจุดนี้เราก็จะทราบพยานที่จะต้องใช้และแนวทางในการสืบพยานรวมถึงประเมินผลได้คร่าว ๆ ครับ ดังนั้นส่วนคำคู่ความนี้เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำงานครับ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จำทำการจัดทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อเตรียมยื่นฟ้องต่อไปครับ

การคิดค่าทนายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะครับ

1.1.1 คิดค่าวิชาชีพโดยวิธีการเหมาทั้งคดี ตรงนี้จะเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูงครับ ถ้าไม่จ่ายเต็มทั้งก้อน การแบ่งจ่ายจะขึ้นกับคดีครับ เช่น จ่ายเมื่อเริ่มงาน 50 – 60% ก้อนแรกจะเป็นจำนวนที่สูงเพราะตามที่ได้กล่าวไปแล้วครับว่าการเขียนคำคู่ความ เช่น คำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอ ตั้งต้นคดีนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะเป็นตัวกำหนดแนวการการทำงานของทั้งคดีครับ ส่วนงวดต่อไปก็อาจจะเป็นการแบ่งจ่ายงวดเดียวหรือสองงวดก็ได้แล้วแต่ตกลงกันกับทนายครับ

1.1.2 คิดค่าวิชาชีพส่วนหนึ่ง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกส่วนหนึ่ง ตรงนี้จะถูกกว่าแบบแรกหน่อยถ้าคดีจบเร็ว แต่อาจจะแพงกว่าถ้าคดียืดเยื้อครับ เนื่องมากจากว่าการเก็บแบบนี้นั้นจะเป็นการจ่ายค่าวิชาชีพในการเขียนคำคู่ความ คำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอตั้งต้นคดี ก้อนหนึ่ง และค่าทนายความไปศาลต่อครั้งอีกก้อนหนึ่งครับ ส่วนที่จะเสียเรื่อย ๆ คือส่วนหลังนี้ครับเพราะหากคดีไปหลายนัดก็อาจจะเสียมากกว่าลักษณะแรกก็ได้ แต่ถ้าไปครั้งสองครั้งส่วนใหญ่จะน้อยกว่าลักษณะแรกครับ เพราะในลักษณะแรกจะต้องประเมินทุกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ไปด้วยไว้แล้วครับ

1.2 การยื่นคำฟ้อง คำร้องหรือคำให้การ 1 วัน

1.3 การต่อสู้คดีหรือสืบพยานอย่างน้อยประมาณ 3 วันทำการ

1.4 วันฟังคำพิพากษา 1 วันทำการ

ถึงตรงนี้ให้นำจำนวนวันในข้อ 1.1 + 1.2 + 1.3 + 1.4 เท่ากับอย่างน้อย 10 วันทำการครับ จากนั้นคูณด้วยค่าตัวทนายต่อวัน แล้วเราจะรู้ค่าตัวทนายได้อย่างไร? แนะนำว่าใช้ประเมินจากค่าตัวของเราต่อวันครับ เช่นถ้าเราได้เงินเดือนเดือนละ 30,000 บาทค่าตัวเราก็ตกวันละ 1,000 บาท เราก็นำตัวเลขนี้คูณกับจำนวนวันข้างต้นครับ ก็จะเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 10,000 บาทครับ ทั้งนี้เป็นการประเมินคร่าวๆนะครับ ค่าตัวทนายและวันทำการอาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคดีที่ฟ้องร้องต่อสู้คดีนั้นทนายความต้องเดินทางข้ามจังหวัดไปต่อสู้คดีให้ด้วยหรือเปล่านะครับ ค่าตัวทนายตรงนี้สูงต่ำแตกต่างกันไปครับ ทนายบางท่านทำคดีเยอะมากและคดีมีมูลค่าสูง ๆ บางครั้งคดีที่ต่ำกว่าแสนท่านก็จะไม่รับเลยก็มีครับ ในส่วนนี้จึงประเมินได้เบื้องต้นคร่าว ๆ จริง ๆ ครับ แนะนำว่าถามทนายท่านไปเลยง่ายที่สุดครับว่าคดีเราข้อเท็จจริงอย่างนี้คิดค่าทนายเท่าไร แต่ตรงนี้ต้องระวังนะครับ เพราะคำตอบที่ได้มาจะขึ้นกับข้อเท็จจริงที่ท่านให้นะครับ แนะนำว่าบอกให้ครบถ้วนดีที่สุดครับ แต่ถ้าเกรงว่าทนายจะรู้ความลับไม่อยากให้รู้เยอะโดยเล่าข้อเท็จจริงไม่ครบทุกด้านการให้คำปรึกษาหรือหลักกฎหมายที่ปรับใช้ก็อาจจะตรงกับข้อเท็จจริงที่ลูกความเล่าเท่าที่อยากให้ทนายได้ยินครับ แต่อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ ได้ครับ ก่อนที่จะตกลงว่าจ้างจึงต้องระลึกไว้เสมอนะครับว่าข้อกฎหมายที่ใช้และราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้หลังจากที่ทนายได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด เนื่องจากว่าข้อเท็จจริงที่ได้รับนั้นมีผลต่อทั้งการหาข้อกฎหมาย การหาหลักฐานและการสืบพยานต่าง ๆ ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ราคาจะต้องสรุปให้เสร็จสิ้นก่อนตกลงว่าจ้างครับ เพราะตัวลูกความที่ใช้บริการจำเป็นที่จะต้องเห็นภาพรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินคดีครับ

ทำไมต้องเสียเงินจ้างทนายด้วย? ต้องเรียนว่ามีคดีบางประเภทที่ไม่จำเป็นต้องจ้างทนายครับซึ่งเราจะเขียนในบทความต่อ ๆ ไปของเราภายหน้านะครับ แต่ถ้าเป็นคดีที่ซับซ้อนอาจจะจำเป็นที่จะต้องจ้างทนายมาช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เสียเปรียบในทางกฎหมายจากฝ่ายตรงข้ามครับ เพราะการสู้คดีในศาลนั้นเราไม่ได้ใช้กฎหมายแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งครับต้องดูทั้งระบบ นอกจากนี้ยังมีระบบและวิธีพิจารณาคดีที่ต้องคำนึงถึงอีกต่างหาก ดังนั้นคดีที่ข้อเท็จจริงเหมือน ๆ กันแต่ผลของคดีอาจจะแตกต่างกันได้เสมอครับ ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมายที่เรายกไปใช้และการนำพยานเข้าสืบในชั้นศาลครับ สรุปก็คือ ทนายคือคนที่จะมาช่วยเราในการเรียกร้องความยุติธรรม แก้ปัญหาและต่อสู้กับทนายฝ่ายตรงข้ามเพื่อคุ้มครองประโยชน์สูงสุดให้กับเราครับ ดังนั้นเป็นทางเลือกครับในทุกคดีที่เกี่ยวกับตัวเราเอง เราจะมีหรือไม่มีทนายความก็ได้ครับ
ทนายเป็นอาชีพให้บริการอย่างหนึ่งดังนั้นเป็นธรรมดาที่เมื่อเราใช้บริการก็จำเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายให้เขาครับ ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนฟรีโดยเขาจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้แทนประชาชน หาทุนทรัพย์น้อยมากจริง ๆ อาจจะลองไปติดต่อหน่วยงานนั้น ๆ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ

2 ค่าธรรมเนียมศาล(ค่าขึ้นศาล) ตรงนี้จะเป็นค่าธรรมเนียมที่เสียให้ศาลนะครับ ไม่เกี่ยวกับค่าทนายความแล้วซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมีอัตราดังนี้ครับ

          2.1 ถ้าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จะเสียค่าธรรมเนียมศาล 200 บาทครับ คดีไม่มีทุนทรัพย์เช่น ฟ้องขับไล่ ฟ้องหย่า แบ่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวม ให้ไปจดทะเบียนตามสัญญา เป็นต้นครับ

          2.2 ถ้าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท จะเสียค่าขึ้นศาล 2% ของสามแสนแต่สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท ครับ เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ยืมจำนวน 200,000 บาท ซึ่ง 2% ของ 200,000 บาทเท่ากับ 4,000 บาทดังนั้นต้องเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 1,000 บาท ครับ แต่ถ้าฟ้องเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท ก็จะเสียค่าขึ้นศาล 2% ของเงิน 2 หมื่นเท่ากับ 400 บาท เพราะไม่เกิน 1,000 บาทเป็นต้นครับ

          2.3 ถ้าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากทุนทรัพย์นั้นเกิน 3 แสนแต่ไม่เกิน 50,000,000 บาทจะเสีย 2% ของทุนทรัพย์นั้นครับ เช่น ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย 100,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมศาล 2,000 บาทครับ

          แต่ถ้าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นเกิน 50,000,000 บาทนั้นส่วนที่เกินจะคิดที่ 0.1% ของทุนทรัพย์ครับ เช่น ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาจำนวน 50,100,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมศาล 2% ของ 50ล้านบาทแรกเท่ากับ 2,000 บาท และ 0.1% ของ 100,000 บาทหลังอีก 100 บาท รวมเป็นเงินค่าธรรมเนียมศาลทั้งสิ้น 2,100 บาทครับ

3 ค่าส่งคำคู่ความในกรณีที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีเราจำเป็นที่จะต้องเสียเงินค่าส่งคำฟ้องของเราให้กับจำเลยในคดีด้วยทุกคนครับ ซึ่งค่าส่งนั้นจะเป็นเท่าไรขึ้นกับว่าภูมิลำเนาของจำเลยแต่ละคนนั้นอยู่ที่ใดบ้าง ในการหาค่าส่งคำคู่ความนั้นให้คำนวณได้จากลิงค์นี้ครับ

คำให้การ (ฝั่งจำเลย)

1 ค่าทนายความก็คำนวณเช่นเดิมเหมือนในส่วนของโจกท์ครับ

2 ค่าธรรมเนียมศาล ในส่วนนี้ถ้าไม่ได้มีการฟ้องแย้งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เสียครับ แต่ถ้ามีการฟ้องแย้งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ก็จะเสียค่าขึ้นศาลเหมือนในส่วนของโจทก์ครับ

ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องต่อสู้คดี กรณีคดีผู้บริโภคบ้าง

1 ค่าทนายความก็คำนวณเช่นเดิมเหมือนในคดีแพ่งครับ

2 ค่าขึ้นศาลตรงนี้เสียที่ 2% ของทุนทรัพย์ครับแต่สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

3 ค่าส่งคำคู่ความคำนวณได้จากลิงค์นี้ครับ

          ในส่วนคดีแพ่งเมื่อชนะคดีแล้วใช่ว่าจะได้เงินทันทีครับ เรายังต้องทำการบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยซึ่ง

ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องต่อสู้คดี กรณีคดีอาญา

1 ค่าทนายความเช่นเดิมดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ แต่จะแตกต่างจากในคดีแพ่งนิดหน่อยตรงที่ ในฝั่งจำเลยนั้นกฎหมายกำหนดให้ศาลถามจำเลยว่าจำเลยประสงค์ที่จะมีทนายความหรือไม่ ซึ่งถ้าจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะจ้างทนาย ตรงนี้ก็ขอศาลท่านได้ครับว่าขอให้หาทนายว่าความให้หน่อย ท่านก็จะจัดหาทนายความขอแรงมาว่าความให้เราครับ โดยที่ทนายความขอแรงนั้นจะเป็นทนายความที่ไปขึ้นทะเบียนในศาลนั้น ๆ ครับ การได้รับค่าตอบแทนของทนายขอแรงศาลท่านจะจัดหาค่าตอบแทนให้ตามระเบียบอยู่แล้วครับ

2 ค่าขึ้นศาลตรงนี้ไม่เสียค่าขึ้นศาลครับ เว้นแต่เราเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนแพ่งไปด้วยตรงนี้เสียค่าธรรมเนียมศาลเหมือนในคดีแพ่งครับ

3 ค่าส่งคำคู่ความเช่นกันครับคำนวณได้จากลิงค์นี้ครับ