สมัยก่อนเรียนกฎหมาย ที่ออฟฟิตเก่าเวลาตกลงงานมักจะให้ลูกค้าเซ็นต์สัญญาก่อนเสมอ ที่มาของสัญญาก็โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตนั่นแหละเพราะจ้างทนายร่างมันแพงสมัยนั้นก็คิดว่าจะต้องจ้างทำไม โหลดอินเตอร์เน็ตเอาก็ได้นี่นาไม่เคยเห็นถึงความสำคัญของสัญญา เมื่อมีโอกาสได้ทำงานสายกฎหมาย ทำให้เห็นว่าสัญญานั้นสำคัญมาก บางทีแพ้ชนะอยู่ที่ถ้อยคำในสัญญานี่แหละ ความรัดกุมของสัญญาที่เขียน หรือแม้กระทั่งข้อกฎหมายซึ่งซ่อนอยู่ในข้อความที่เขียนในสัญญาที่ถ้าอ่านผ่านๆแล้วจะทำให้เราไม่รู้ว่าข้อความนี้มีผลทางกฎหมาย
แนวทางการร่างสัญญาแต่ละฉบับ เมื่อได้รับข้อมูลในการร่างสัญญามาจากลูกความแล้ว สิ่งที่ทนายทำอันดับแรกก่อนที่จะเริ่มร่างสัญญานั่นคือดูข้อกฎหมายทุกฉบับรวมถึงหนังสือและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนครับ แล้วจึงเริ่มร่างสัญญาขึ้นมา หลังจากร่าวเสร็จก็ต้องทวนแล้วทวนอีกว่าจะมีผลอย่างไรบ้างควรเพิ่มอะไรควรตัดตรงไหน ตรงนี้เป็นเรื่องปกติที่ทนายทุกคนและทุกที่ทำเป็นอย่างน้อย
ตรวจสัญญาก็เช่นกันครับ จะมีความซับซ้อนคนละแบบ เมื่อเราได้ข้อมูลและตัวสัญญาจากลูกความแล้วก็จะทำการเช็คข้อกฎหมายรวมถึงแนวคำพิพากษาฎีกาเพื่อ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ตรงไหนบังคับใช้ได้ บังคับใช้ไม่ได้ การตรวจนั้นจึงต้องเช็คทุกคำพูดทุกตัวอักษรครับ
ทำไมจึงต้องเช็คทั้งหลักกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาทุกครั้งก่อนร่างสัญญา?
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเราอธิบายโดยการยกตัวอย่างครับ ขอยกตัวอย่างเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่านั้นถือเอาคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสาระสำคัญ ปกติแล้วการเช่าช่วงเราจะเขียนในสัญญาว่าให้มีการเช่าช่วงได้ถึงจะสามารถเช่าช่วงได้ การไม่เขียนอนุญาตว่าให้เช่าช่วงได้ในสัญญาตามหลักกฎหมายแล้วหากมีการเช่าช่วงจะถือเป็นการผิดสัญญาทำให้ผู้ให้เช่าสามารถใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามหลักกฎหมายนี้นั้นเนื่องมาจากว่าสัญญาเช่าถือเอาคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสาระสำคัญนั่นเองการเอาไปให้ผู้อื่นเช่าต่อจึงไม่สามารถทำได้ การร่างสัญญานั้นบางครั้งจะมีการซ่อนข้อกำหนดบางอย่างไว้ทำให้บุคคลทั่วไปยากที่จะรู้ได้เช่น หากสัญญากำหนดว่า สัญญาเช่านี้ไม่ให้ถือเอาสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เช่นนี้ก็เป็นการอนุญาตให้เช่าช่วงได้โดยที่ไม่มีคำว่าอนุญาตให้เช่าช่วงในสัญญานั้นเลย หากผู้เช่านำทรัพย์ที่เช่าไปให้เช่าช่วงผู้ให้เช่าจะไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยเหตุนี้ครับ (มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการกลับแนวฎีกานี้ทำให้การเขียนข้อความดังกล่าวเสมือนเป็นการอนุญาตให้เช่าช่วงได้อยู่)
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ หากสัญญาเช่ากำหนดไว้ว่าหากผู้เช่าต่อเติมดัดแปลงทรัพย์ใดๆกับทรัพย์สินที่เช่า ให้การต่อเติมนั้นตกเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญา หากอ่านผ่าน ๆ ก็จะไม่เห็นความสำคัญอะไรทำให้เข้าใจว่าอะไรที่ต่อเติมนั้นก็ตกเป็นของผู้ให้เช่าหมด แต่ก็มีแนวคำพิพากษาฎีกาที่ยังไม่มีการหลับซึ่งตัดสินไว้ว่าการต่อเติมนั้นเฉพาะทรัพย์ที่จะทำให้เป็นส่วนควบแม้มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาเช่าก็ตามก็ไม่ได้ทำให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของผู้ให้เช่าได้ตามสัญญา
จากตัวอย่างทั้งสองจึงเห็นได้ว่าในการร่างสัญญาเหตุใดทนายหรือนักกฎหมายทุกท่านจำเป็นที่จะต้องเช็คทั้งหลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาฎีกาทั้งหมดก่อนร่างสัญญาทุกครั้งครับ
สำนักงานเรารับร่างหรือตรวจสัญญาหรือไม่?
รับครับ การร่างสัญญาต่อ 1 ฉบับของเราหลังจากได้รับข้อมูลแล้วเนื่องจากเป็นงานแฮนด์เมดทำใหม่ทุกฉบับจึงจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 – 5 วันขึ้นไปครับ ในเรื่องการตรวจสัญญาก็เช่นกันเราจะใช้เวลาอย่างน้อย 3 – 5 วันขึ้นไปครับ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและปริมาณว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเราร่างสัญญาหรือตรวจสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากเป็นการร่างสัญญาเราจะทำการอธิบายความมุ่งหมายและหลักกฎหมายของสัญญาที่เราได้ทำขึ้นในแต่ละข้อให้กับลูกความเราฟังครับเพราะเราคิดว่าผู้ที่ใช้สัญญาควรที่จะรู้ว่าสัญญาที่ใช้นั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรเสียก่อนเพื่อให้หากมีการเจรจาต่อรองเกิดขึ้นจะได้รู้ถึงแนวทางในการใช้ที่ดีครับ ในส่วนของการตรวจสัญญานั้นเราจะทำเป็นคอมเมนท์ไว้ในแต่ละจุดในสัญญาให้ลูกความดูก่อนว่ามีจุดที่ต้องคำนึงถึงมีอยู่ในจุดใดบ้าง จากนั้นจึงจะทำการแก้ไขจนสัญญาเสร็จสมบูรณ์ส่งให้กับลูกความครับ
สำนักงานคิดค่าตรวจ หรือ ร่างสัญญา เท่าไร?
ขั้นต่ำเริ่มต้นที่ฉบับละ 5,000 บาท ขึ้นกับเนื้อหาความยากง่ายและปริมาณของในแต่ละสัญญาครับ
จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องจ้างทนายความเพื่อทำสัญญา?
ไม่จำเป็นเสมอไปครับ หากสัญญาที่จะทำนั้นไม่มีความซับซ้อน และท่านทำสัญญาด้วยความสุจริตทั้งสองฝ่าย ปัจจุบันมีสัญญาสำเร็จรูปให้ดาวน์โหลดมากมายซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เช่นกันครับซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเขียนสัญญาไว้กลางๆตามหลักกฎหมายครับ การร่างสัญญาโดยทนายความหรือนักกฎหมายนั้นจะมีประโยชน์ในการคุ้มครองรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ทำสัญญาได้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปเพราะสัญญาที่ได้ทำขึ้นจะเฉพาะเจาะจงกับสัญญาหรือนิติกรรมที่ท่านกำลังจะทำนั้น การสั่งตัดชุดโดยวัดขนาดของผู้ที่จะสวมใส่ ชุดที่ได้จะเหมาะพอดีกับตัวของผู้ตัดมากกว่าชุดสำเร็จรูปที่ทำมากลาง ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าชุดสำเร็จรูปจะใส่ได้ไม่สวยใช่ไหมครับ การว่าจ้างให้ทำสัญญาก็เช่นเดียวกันครับ
สัญญาสำเร็จรูปฟรีให้ดาวน์โหลดฟรี
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันการค้นหาข้อมูลต่างๆเป็นไปได้ง่ายบางทีสัญญาบางประเภทที่ไม่ซับซ้อนมากนักจึงสามารถหาโหลดได้ทั่วไป โพสนี้จึงลงไว้หนึ่งแหล่งที่มักแนะนำลูกความให้ไปดูก่อนเสมอว่ามีในนี้หรือเปล่า ถ้ามีโหลดมาใช้ได้เลย ไม่ต้องจ้าง การมาจ้างถ้าจะให้เปรียบก็เหมือนการซื้อเสื้อผ้าใส่ ถ้ามีที่สำเร็จอยู่แล้วพอใจก็ใช้อันนั้นแต่ถ้าจ้างตัดเฉพาะตัวราคาก็อาจจะแพงกว่าทั่วไปเป็นธรรมดา อย่างไรก็ดีอยากแนะนำไว้ก่อนตัดสินใจ สัญญาอาจเสียหลักพักถึงหมื่น แต่ค่าทนายความในการฟ้องคดีหลักหมื่นถึงแสนขึ้นไปแน่นอน แถมแพ้ชนะก็อาจจะอยู่ที่สัญญาหลักพันถึงหมื่นนี่แหนะ ดังนั้นก่อนตัดสินใจทุกคร้ังควรคำนึงเสมอว่าถ้ามีคดีตัวสัญญาที่เราใช้นั้นจะมีประโยชน์ต่อเรามากน้อยแค่ใหนลิงค์สัญญาสำเร็จรูปมีสัญญาต่างๆจากเว็บไซท์ของสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬดังนี้ คลิกที่นี่
แบบพิมพ์ศาล ดาวน์โหลดฟรี
สัญญากู้ยืมเงิน | สัญญาขายฝาก |
– สัญญากู้ยืมเงิน(จดทะเบียนจำนองทรัพย์สิน เป็นประกัน) – สัญญากู้ยืมเงิน(มีบุคคลค้ำประกัน) – สัญญากู้ยืมเงิน(มีทรัพย์สินวางเป็นประกัน) – สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป(แบบไม่มีหลักประกัน) | – สัญญาขายฝาก(แบบที่ 1) – สัญญาขายฝาก(แบบที่ 2) – สัญญาขายฝาก(แบบที่ 3) – สัญญาขายฝาก(แบบที่ 4) – สัญญาขายฝาก(แบบที่ 5) |
สัญญาซื้อขาย | สัญญาจะซื้อจะขาย |
– สัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำแบบทั่วไป – สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน – สัญญาซื้อขายรถยนต์ – สัญญาซื้อขาย(แบบที่ 1) – สัญญาซื้อขาย(แบบที่ 2) | – สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(ตามรังวัดได้จริง) – สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(เหมายกแปลง) – สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน(น.ส. 3 ก) – สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(ฉบับผู้จะขาย) |
สัญญาค้ำประกัน | สัญญาเช่า |
– หนังสือค้ำประกัน – สัญญาค้ำประกันเงินกู้ – สัญญาค้ำประกันการแลกเช็ค – สัญญาค้ำประกันบุคคลทำงาน – สัญญาค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง – หนังสือสัญญาค้ำประกันจะซื้อจะขายหรือวางมัดจำ | – สัญญาเช่าที่ดิน – หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน – สัญญาให้เช่าที่ดินระยะยาว – สัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง – สัญญาเช่าบ้าน – หนังสือสัญญาเช่า – หนังสือสัญญาเช่าตึกแถว – หนังสือสัญญาเช่ารถยนต์ – หนังสือสัญญาเช่าซื้อ |
หนังสือมอบอำนาจ | หนังสืออื่นๆ |
– หนังสือมอบอำนาจทั่วไป – หนังสือมอบอำนาจ(แบบที่ 1) – หนังสือมอบอำนาจ(แบบที่ 2) – หนังสือมอบอำนาจ(แบบที่ 3) | – หนังสือยินยอมของคู่สมรส(แบบที่ 1) – หนังสือสัญญาของคู่สมรส(แบบที่ 2) – บันทึกรับสภาพหนี้ – หนังสือบอกเลิกสัญญา – สัญญาประนีประนอมยอมความ – หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ |
3 comments on “ตัวอย่างสัญญาสำเร็จรูปดาวน์โหลดฟรี และค่าบริการในการตรวจ ร่างสัญญา” Add yours →
Comments are closed. You can not add new comments.