Home

The Itthigorn and partners the professional law firm in Thailand legal and counselling

Professional Law Firm - Thailand

About us

Itthigorn & Partners is a professional legal team based in Thailand. With strong legal knowledge & offering creative solutions our team is highly specialized, litigation, dispute resolution, negotiation, counselling in many areas, commercial law, criminal law, restructuring insolvency, labor law family and property law.

Achieve in 4 steps

1

Make an appointment

2

Hear the fact

3

Plan and Quotation

4

Start the operation

Keep in Touch!

contract us

17 th Floor, 25 Alma Link Building, Soi Chidlom, Ploenchit Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330

(+66) 65 057 4021

itthigorn@itthigorn.com

การหมิ่นประมาท

ความผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาท ตอนที่ 1 การหมิ่นประมาทและการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

การหมิ่นประมาท คดีหมิ่นประมาทนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในหลายๆคดียอดฮิตในยุคนี้ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือโดยการโฆษณา หมิ่นประมาทหรือหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งก็เนื่องมาจากสังคมในปัจจุบันใช้สื่อสังคมออนไลน์กันแพร่หลายมากขึ้น ทำให้การกระทำความผิดฐานดูหมิ่นด้วยการโฆษณาและการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณานั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยในหลายๆครั้งผู้เสียหายก็มักจะใช้ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจากผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนที่สูงเกินสมควรบ้างในบางกรณี และเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไปจึงขอแบ่งย่อยออกเป็นตอนๆนะครับ ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าความผิดฐานนี้มุ่งคุ้มครองอะไรเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจครับ ความผิดในฐานนี้มุ่งคุ้มครอง เกียรติ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณค่าที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนครับ…
คำร้องตั้งผู้จัดการมรดก

ตัวอย่างและคำอธิบาย การเขียนคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก

สำหรับใครที่ต้องการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกด้วยตัวเองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนาย ซึ่งในความเห็นของเรามองว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้กฎหมายที่ซับซ้อน และไม่มีผลเสียหายใดๆ ในบทความแรกๆของเราได้เขียนถึงวิธีการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงการเขียนคำร้องและเอกสารต่างๆทั้งหมดที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลกันนะครับ แบบฟอร์มศาลนั้นสามารถ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ได้ฟรีครับ เอกสารฉบับที่ 1 คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เอกสารชิ้นแรกที่เราต้องเขียนสำหรับยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ได้แก่…
ค่าจ้างทนายความ

ค่าจ้างทนายความ จะเลือกทนายความอย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องจ้างทนายว่าความในศาล?

ค่าจ้างทนายความ เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายๆคนสงสัย บทความนี้จะเป็นการพูดรวมๆเกี่ยวกับค่าจ้างทนายไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา หรือใช้บริการอื่นๆครับ ค่าจ้างทนายความในบทความนี้นั้นอ้างอิงจากสำนักงานเราเป็นหลักครับ สำนักงานหรือทนายท่านอื่นอาจมีหลักการคิดค่าจ้างทนายความในส่วนที่เป็นค่าวิชาชีพแตกต่างออกไปได้ บทความนี้นอกจากจะเขียนถึงการคิดว่าจ้างทนายความเบื้องต้นแล้ว เรายังจะเขียนถึงคำถามในใจของหลายๆท่านเกี่ยวกับการว่าจ้างทนายด้วยครับ หากเวลาน้อยสามารถข้ามลงไปด้านล่างได้เลยครับ จ้างทนายให้ว่าความฟรีมีหรือไม่? ก่อนอื่นเรามาดูเหตุผลก่อนว่าทำไมค่าทนายความถึงไม่ฟรี…
ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องล้มละลาย

ฟ้องล้มละลาย กฎหมายและผลของการล้มละลาย

กฎหมายล้มละลายและผลของการล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และผิดนัดในการชำระหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เจ้าหนี้มี สี่ ทางเลือกเพื่อที่จะให้ตนได้รับการชำระหนี้คือ             1 ปรับโครงสร้างหนี้            …
สัญญาสำเร็จรูป

ตัวอย่างสัญญาสำเร็จรูปดาวน์โหลดฟรี และค่าบริการในการตรวจ ร่างสัญญา

สมัยก่อนเรียนกฎหมาย ที่ออฟฟิตเก่าเวลาตกลงงานมักจะให้ลูกค้าเซ็นต์สัญญาก่อนเสมอ ที่มาของสัญญาก็โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตนั่นแหละเพราะจ้างทนายร่างมันแพงสมัยนั้นก็คิดว่าจะต้องจ้างทำไม โหลดอินเตอร์เน็ตเอาก็ได้นี่นาไม่เคยเห็นถึงความสำคัญของสัญญา เมื่อมีโอกาสได้ทำงานสายกฎหมาย ทำให้เห็นว่าสัญญานั้นสำคัญมาก บางทีแพ้ชนะอยู่ที่ถ้อยคำในสัญญานี่แหละ ความรัดกุมของสัญญาที่เขียน หรือแม้กระทั่งข้อกฎหมายซึ่งซ่อนอยู่ในข้อความที่เขียนในสัญญาที่ถ้าอ่านผ่านๆแล้วจะทำให้เราไม่รู้ว่าข้อความนี้มีผลทางกฎหมาย แนวทางการร่างสัญญาแต่ละฉบับ เมื่อได้รับข้อมูลในการร่างสัญญามาจากลูกความแล้ว สิ่งที่ทนายทำอันดับแรกก่อนที่จะเริ่มร่างสัญญานั่นคือดูข้อกฎหมายทุกฉบับรวมถึงหนังสือและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนครับ แล้วจึงเริ่มร่างสัญญาขึ้นมา หลังจากร่าวเสร็จก็ต้องทวนแล้วทวนอีกว่าจะมีผลอย่างไรบ้างควรเพิ่มอะไรควรตัดตรงไหน ตรงนี้เป็นเรื่องปกติที่ทนายทุกคนและทุกที่ทำเป็นอย่างน้อย ตรวจสัญญาก็เช่นกันครับ จะมีความซับซ้อนคนละแบบ เมื่อเราได้ข้อมูลและตัวสัญญาจากลูกความแล้วก็จะทำการเช็คข้อกฎหมายรวมถึงแนวคำพิพากษาฎีกาเพื่อ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ตรงไหนบังคับใช้ได้ บังคับใช้ไม่ได้ การตรวจนั้นจึงต้องเช็คทุกคำพูดทุกตัวอักษรครับ ทำไมจึงต้องเช็คทั้งหลักกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาทุกครั้งก่อนร่างสัญญา?…